หนังสือ แผนที่มรดกทางวัฒนธรรมนครลำปาง (2549)
ความจริงแล้ว การเขียนประวัติศาสตร์ ก็คือ การร้อยสายโซ่แห่งความทรงจำด้วยข้อสันนิษฐานบนหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ ทั้งเป็นและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยเหตุผลทางการเมือง และเศรษฐกิจ ทำให้ประวัติศาสตร์ ความหลังของท้องถิ่นถูกละเลย ไม่เห็นความสำคัญ ซ้ำยังโดนดูถูก จนถึงแก่การถูกทำลายในที่สุด "แบบเรียนประวัติศาสตร์ระดับชาติ" สอนให้เราภูมิใจความเป็นไทย จนลืมเหลียวกลับไปมองท้องถิ่น ลืมกลับไปมองบ้านเกิด
เช่นเดียวกับชะตากรรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอื่นๆ "ลำปาง" ไม่พบหลักฐานการเขียนประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร มากเท่าใดนัก การเล่าเรื่องกลับผูกอยู่กับตำนาน ที่ให้ความสำคัญกับมิติทางจิตวิญญาณ ศาสนา และการเมือง จนขาดวิสัยที่จะเข้าใจภาพรวมของบ้านเมืองได้อย่างมีชีวิตชีวา และมีพัฒนาการ
ทั้งที่ลำปางเป็นท้องถิ่นที่มีความ"เก๋า" อยู่มีน้อย หลักฐานที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมก็ฟ้องอยู่ด้วยของมันเอง
พื้นที่นี้จะพยายามนำเอา "พล็อตทางประวัติศาสตร์ลำปาง" มาขยายความให้ท่านฟัง ซึ่งมีมากกว่า 1 สำนวน ช่วยกันเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อการค้นคว้าหาหลักฐานเพิ่มเติมได้อีกในอนาคต ในที่นี้จะเริ่มด้วยพล็อตสั้นๆ จาก
เช่นเดียวกับชะตากรรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอื่นๆ "ลำปาง" ไม่พบหลักฐานการเขียนประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร มากเท่าใดนัก การเล่าเรื่องกลับผูกอยู่กับตำนาน ที่ให้ความสำคัญกับมิติทางจิตวิญญาณ ศาสนา และการเมือง จนขาดวิสัยที่จะเข้าใจภาพรวมของบ้านเมืองได้อย่างมีชีวิตชีวา และมีพัฒนาการ
ทั้งที่ลำปางเป็นท้องถิ่นที่มีความ"เก๋า" อยู่มีน้อย หลักฐานที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมก็ฟ้องอยู่ด้วยของมันเอง
พื้นที่นี้จะพยายามนำเอา "พล็อตทางประวัติศาสตร์ลำปาง" มาขยายความให้ท่านฟัง ซึ่งมีมากกว่า 1 สำนวน ช่วยกันเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อการค้นคว้าหาหลักฐานเพิ่มเติมได้อีกในอนาคต ในที่นี้จะเริ่มด้วยพล็อตสั้นๆ จาก
1. "แผนที่มรดกทางวัฒนธรรม"(2549) แบ่งช่วงเวลาอยู่ที่ 6 สมัย แต่ไม่นับมาถึงปัจจุบัน
2. ต่อมาจะตามด้วยพล็อตจากหนังสือ "จากอดีตสู่อนาคตเมืองนครลำปาง"(2548) ที่เก็บรายละเอียดมาถึงยุคปัจจุบัน
นอกจากนั้นยังมีงานเขียนประวัติศาสตร์ลำปาง อีกหลายท่านหลายสำนวน อาทิ ครูแสน ธรรมยศ, อ.สักเสริญ (ศักดิ์) รัตนชัย, รศ.สรัสวดี อ๋องสกุล ฯลฯ ซึ่งจะนำเสนอต่อไปในเวลาข้างหน้า
ขอเชิญร่วมลิ้มรสความสนุกของการ สืบค้น ประวัติศาสตร์บ้านเมืองลำปางได้นับแต่นี้...
ศุกร์ 8 ธันวา 49
2. ต่อมาจะตามด้วยพล็อตจากหนังสือ "จากอดีตสู่อนาคตเมืองนครลำปาง"(2548) ที่เก็บรายละเอียดมาถึงยุคปัจจุบัน
นอกจากนั้นยังมีงานเขียนประวัติศาสตร์ลำปาง อีกหลายท่านหลายสำนวน อาทิ ครูแสน ธรรมยศ, อ.สักเสริญ (ศักดิ์) รัตนชัย, รศ.สรัสวดี อ๋องสกุล ฯลฯ ซึ่งจะนำเสนอต่อไปในเวลาข้างหน้า
ขอเชิญร่วมลิ้มรสความสนุกของการ สืบค้น ประวัติศาสตร์บ้านเมืองลำปางได้นับแต่นี้...
ศุกร์ 8 ธันวา 49
No comments:
Post a Comment