ศาลากลาง สร้างขึ้นใหม่ขึ้นแทนหอคำ เมื่อพ.ศ.2453
[ที่มา : สักเสริญ(ศักดิ์) รัตนชัย. ลำปางในพงศาวดารไทยถิ่นเหนือ, ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์, 2548]
"ภาพถ่ายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ คราวเสด็จนครลำปาง พร้อมด้วยเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ตลอดจนเจ้านายและผู้ตามเสด็จอื่นๆ ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง คราวเสด็จมณฑลพายัพ พ.ศ.2464"
[เทศาภิบาล พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, กรุงเทพฯ : มติชน, 2545, 118]
สมัยปฏิรูปหัวเมืองทางเหนือ
ราวพ.ศ.2417-2459[1]
ร่วมสมัยกับรัชกาลที่ 4-5 แห่งสยามประเทศ
การเติบโตของระบบทุนนิยม อิทธิพลชาวตะวันตก และสยามประเทศ
ในยุคสมัยนี้ เริ่มต้นด้วยการนับตั้งแต่การลงนาม สนธิสัญญาเชียงใหม่[2] อันเนื่องมาจากความขัดแย้งจากกิจการป่าไม้ และความวุ่นวายในหัวเมืองชายแดน ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสยาม และรัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ขณะที่อังกฤษก็สามารถตั้ง สถานกงสุลประจำนครเชียงใหม่ และนครลำปาง เพื่อดูแลผลประโยชน์ของตนและกลุ่มชนในบังคับอังกฤษ ปัญหาการคุกคามจากอาณานิคมตะวันตกดังกล่าว ทำให้รัฐบาลสยาม มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะควบคุมหัวเมืองต่างๆทั่วราชอาณาจักร เพื่อจะรวบอำนาจเข้าสูศูนย์กลางให้มากที่สุด ดังปรากฏการส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ มาควบคุมการบริหารราชการภายใน จึงอาจกล่าวได้ว่าในยุคนี้หัวเมืองทางเหนือ ได้รับการกดดันอย่างหนักหน่วง แน่นอนว่า กระแสอันเชี่ยวกรากของระบบทุนนิยมที่กำลังเริ่มต้นขึ้น ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบเจ้านายทางเหนือพังทลายลง
ราวพ.ศ.2417-2459[1]
ร่วมสมัยกับรัชกาลที่ 4-5 แห่งสยามประเทศ
การเติบโตของระบบทุนนิยม อิทธิพลชาวตะวันตก และสยามประเทศ
ในยุคสมัยนี้ เริ่มต้นด้วยการนับตั้งแต่การลงนาม สนธิสัญญาเชียงใหม่[2] อันเนื่องมาจากความขัดแย้งจากกิจการป่าไม้ และความวุ่นวายในหัวเมืองชายแดน ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสยาม และรัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ขณะที่อังกฤษก็สามารถตั้ง สถานกงสุลประจำนครเชียงใหม่ และนครลำปาง เพื่อดูแลผลประโยชน์ของตนและกลุ่มชนในบังคับอังกฤษ ปัญหาการคุกคามจากอาณานิคมตะวันตกดังกล่าว ทำให้รัฐบาลสยาม มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะควบคุมหัวเมืองต่างๆทั่วราชอาณาจักร เพื่อจะรวบอำนาจเข้าสูศูนย์กลางให้มากที่สุด ดังปรากฏการส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ มาควบคุมการบริหารราชการภายใน จึงอาจกล่าวได้ว่าในยุคนี้หัวเมืองทางเหนือ ได้รับการกดดันอย่างหนักหน่วง แน่นอนว่า กระแสอันเชี่ยวกรากของระบบทุนนิยมที่กำลังเริ่มต้นขึ้น ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบเจ้านายทางเหนือพังทลายลง
ครุฑไม้แกะสลัก สัญลักษณ์ของรัฐสยาม ที่เคยติดตั้งอยู่บริเวณศาลากลาง
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
[ที่มา : หนังสืออนุสรณ์ 100 ปี โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย, 2541]
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 10 ที่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง เป็นผู้บริจาค ผู้สร้างสิ่งสาธารณประโยชน์จำนวนมาก ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายที่สนับสนุนรัฐบาลสยามอย่างยิ่ง[3] อันได้แก่ สร้างโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย โรงทหาร โรงพยาบาลทหาร ที่ทำการไปรษณีย์ หรือการอุทิศที่ดินเพื่อสร้างที่ทำการศาล เรือนจำกลางลำปาง เป็นต้น
การทำมาหากิน ค้าขาย
ดังที่กล่าวมาแล้ว ในยุคนี้เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยมเข้าสู่นครลำปาง กลุ่มแรกๆที่มีโอกาสสะสมทุนก็ได้แก่ กลุ่มทำไม้ ชาวไทใหญ่-พม่า ที่ร่วมกับชาวยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ ดังปรากฏการสร้างบ้านใหญ่โต บริเวณท่ามะโอ หรือการสร้างวัดแบบไทใหญ่-พม่า บริเวณย่านป่าขามเป็นจำนวนมาก
อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ชาวจีน[4] ที่เดินทางมาจากส่วนกลางของสยามประเทศและศูนย์กลางการค้าทางน้ำ เช่น สวรรคโลก นครสวรรค์ มาประกอบอาชีพค้าขายทางน้ำ โดยเรือหางแมงป่อง ขึ้น-ล่อง ส่งสินค้าระหว่างนครลำปาง กับปากน้ำโพ และอาจไปจนถึงกรุงเทพฯ หรือบางคนสามารถสะสมทุนและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายอากรเก็บภาษีในท้องถิ่น
การตั้งถิ่นฐาน
เมืองในยุคนี้จะมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ละกลุ่มก็มีความเชื่อ และโลกทัศน์ที่ต่างกันในการอยู่อาศัย ใช้ชีวิต ได้แก่ ฝรั่งอังกฤษที่เข้ามาทำไม้ และชาวไทใหญ่-พม่า[5] ตั้งถิ่นฐานบริเวณท่ามะโอ ที่ใกล้แม่น้ำวัง จนใช้บางแห่งเป็นที่ชักลากซุงขึ้นมา เช่นบริเวณด้านหน้าของวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม(ด้านสระน้ำ)
ขณะที่ชาวจีน ชาวไทใหญ่-พม่า ก็เลือกทำเลบริเวณตลาดจีน(กาดกองต้า) ที่ใช้พื้นที่ต่ำใกล้น้ำให้เป็นประโยชน์ในการเป็นท่าเทียบเรือสินค้า โกดัง ที่อยู่อาศัย และห้างไปในตัว
ย่านวัดไทใหญ่-พม่า บริเวณป่าขามและใกล้เคียง เป็นบริเวณที่แยกออกมาจากตัวเมือง ขณะเดียวกันก็มีบริเวณม่อนที่มีความสูงสอดคล้องกับคติการสร้างวัด
สถานกงสุลอังกฤษประจำนครลำปาง ภาพนี้ถ่ายราว พ.ศ.2460 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง แสดงให้เห็นการจัดการผลประโยชน์ของอังกฤษผ่านชาวไทใหญ่-พม่า ในธุรกิจค้าไม้
[ที่มา : รศ.ดร.ชูเกียรติ-คุณ ฌาดา ชิวารักษ์]
[ที่มา : รศ.ดร.ชูเกียรติ-คุณ ฌาดา ชิวารักษ์]
คริสเตียนอเมริกันเพรสไบทีเรียน เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มิได้มีเป้าหมายอยู่ที่การค้าขาย แต่เน้นที่การเผยแพร่ศาสนา ให้การศึกษา และสังคมสงเคราะห์ มีถิ่นฐานอยู่บริเวณบ้านเกาะ ริมแม่น้ำวัง ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นที่ดินพระราชทาน ใกล้กับสถานกงสุลอังกฤษประจำนครลำปาง[6]
เชิงอรรถ
[1] อาศัยเส้นแบ่งการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่การทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ.2417 จนถึง การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการเดินรถไฟสายเหนือ ที่มาถึงนครลำปางเมื่อ พ.ศ.2459 ขณะเดียวกัน ปีนี้มีการเปลี่ยนตำแหน่งเป็น “จังหวัดลำปาง” โดย กระทรวงมหาดไทย
[2] ดู ความขัดแย้งที่เกิดจรากปัญหาเกี่ยวกับกิจการป่าไม้ และปัญหาความวุ่นวานในหัวเมืองชายแดน จนทำให้เกิด “สนธิสัญญาเชียงใหม่” ฉบับแรก ได้ ใน สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2544, หน้า 358-359
[3] สมโชติ อ๋องสกุล, เจ้าหลวงลำปางและธิดาเจ้าหลวงลำปางคนสุดท้าย, เอกสารอัดสำเนา, 2546
[4] ดูบทบาทของพ่อค้าชาวจีนได้ในบทความของ มาร์โก วี. พาเทล, เครือมาศ วุฒิการณ์ แปล. “ประวัติและพัฒนาการของการค้าขายในลำปาง ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง ค.ศ.1939” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ, สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏลำปาง, 2544, หน้า 36-41 หรือจะอ่านประวัติศาสตร์เชิงบอกเล่าที่แสนจะมีสีสันได้ใน วิถี พานิชพันธ์.“คุณย่าเล่าว่า” ในเล่มเดียวกัน
[5] ดูบทบาทของการทำไม้ของชาวอังกฤษ และชาวไทใหญ่-พม่า และท่าทีของคนพื้นเมืองต่อการทำไม้ ซึ่งให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ ใน มาร์โก วี. พาเทล, อ้างแล้ว, หน้า 28-35
[6] อ่านเรื่องราวของคริสเตียนในลำปางได้ใน คริสตจักรที่ 1 ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า, ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์, 2543
เชิงอรรถ
[1] อาศัยเส้นแบ่งการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่การทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ.2417 จนถึง การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการเดินรถไฟสายเหนือ ที่มาถึงนครลำปางเมื่อ พ.ศ.2459 ขณะเดียวกัน ปีนี้มีการเปลี่ยนตำแหน่งเป็น “จังหวัดลำปาง” โดย กระทรวงมหาดไทย
[2] ดู ความขัดแย้งที่เกิดจรากปัญหาเกี่ยวกับกิจการป่าไม้ และปัญหาความวุ่นวานในหัวเมืองชายแดน จนทำให้เกิด “สนธิสัญญาเชียงใหม่” ฉบับแรก ได้ ใน สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2544, หน้า 358-359
[3] สมโชติ อ๋องสกุล, เจ้าหลวงลำปางและธิดาเจ้าหลวงลำปางคนสุดท้าย, เอกสารอัดสำเนา, 2546
[4] ดูบทบาทของพ่อค้าชาวจีนได้ในบทความของ มาร์โก วี. พาเทล, เครือมาศ วุฒิการณ์ แปล. “ประวัติและพัฒนาการของการค้าขายในลำปาง ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง ค.ศ.1939” ใน ลำปางเมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ, สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏลำปาง, 2544, หน้า 36-41 หรือจะอ่านประวัติศาสตร์เชิงบอกเล่าที่แสนจะมีสีสันได้ใน วิถี พานิชพันธ์.“คุณย่าเล่าว่า” ในเล่มเดียวกัน
[5] ดูบทบาทของการทำไม้ของชาวอังกฤษ และชาวไทใหญ่-พม่า และท่าทีของคนพื้นเมืองต่อการทำไม้ ซึ่งให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ ใน มาร์โก วี. พาเทล, อ้างแล้ว, หน้า 28-35
[6] อ่านเรื่องราวของคริสเตียนในลำปางได้ใน คริสตจักรที่ 1 ลำปาง ค.ศ.1880-2000 120 ปี โมทนาพระคุณเจ้า, ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์, 2543
No comments:
Post a Comment