ลำปางก่อนประวัติศาสตร์
ย้อนไปถึง 500,000 ปีที่แล้ว
มีคนกล่าวไว้ว่า การรู้จักตัวเองนั้น ยิ่งสืบค้นไปได้ไกลเท่าใด ก็ยิ่งจะรู้ถึงความลึกซึ้งของบ้านเมืองได้เท่านั้น เสมือนกับการยิงธนูที่จำเป็นต้องง้างไปให้ไกล ฉันใดก็ฉันนั้น ขณะที่หลักฐานทางธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดีในจังหวัดลำปางนั้น กระจายตัวอยู่เป็นจำนวนมาก แทบจะทุกอำเภอ ในที่นี้ จึงขอรวบรัดอธิบายภาพรวมของพัฒนาการยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่น และสำคัญในระดับชาติ แม้ว่าจะเป็นพื้นที่นอกเขตศึกษาก็ตาม ความพยายามนี้เป็นการปูพื้นฐานให้เห็นความเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการประวัติศาสตร์ อันจะส่งต่อความเป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารการปกครอง ที่มีตำแหน่งอยู่ที่อำเภอเมืองลำปาง
ร่องรอยบรรพบุรุษของมนุษยชาติ "มนุษย์เกาะคา"
พบหลักฐานของมนุษย์ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ มนุษย์โฮโมอีเรคตัส หรือ มนุษย์เกาะคา ที่มีอายุกว่า 500,000 ปี ร่วมสมัยกับ มนุษย์ปักกิ่ง และมนุษย์ชวา มีการค้นพบ "ชิ้นส่วนกะโหลกด้านขวา ฟันหน้าข้าง ฟันด้านขวา และส่วนอื่นๆ" บริเวณหาดปู่ด้าย ต.นาแส่ง อ.เกาะคา ทางทิศใต้ของตัวเมืองลำปาง ถือเป็นการค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญของประเทศไทย เมื่อพ.ศ.2541[1]
ย้อนไปถึง 500,000 ปีที่แล้ว
มีคนกล่าวไว้ว่า การรู้จักตัวเองนั้น ยิ่งสืบค้นไปได้ไกลเท่าใด ก็ยิ่งจะรู้ถึงความลึกซึ้งของบ้านเมืองได้เท่านั้น เสมือนกับการยิงธนูที่จำเป็นต้องง้างไปให้ไกล ฉันใดก็ฉันนั้น ขณะที่หลักฐานทางธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดีในจังหวัดลำปางนั้น กระจายตัวอยู่เป็นจำนวนมาก แทบจะทุกอำเภอ ในที่นี้ จึงขอรวบรัดอธิบายภาพรวมของพัฒนาการยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่น และสำคัญในระดับชาติ แม้ว่าจะเป็นพื้นที่นอกเขตศึกษาก็ตาม ความพยายามนี้เป็นการปูพื้นฐานให้เห็นความเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการประวัติศาสตร์ อันจะส่งต่อความเป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารการปกครอง ที่มีตำแหน่งอยู่ที่อำเภอเมืองลำปาง
ร่องรอยบรรพบุรุษของมนุษยชาติ "มนุษย์เกาะคา"
พบหลักฐานของมนุษย์ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ มนุษย์โฮโมอีเรคตัส หรือ มนุษย์เกาะคา ที่มีอายุกว่า 500,000 ปี ร่วมสมัยกับ มนุษย์ปักกิ่ง และมนุษย์ชวา มีการค้นพบ "ชิ้นส่วนกะโหลกด้านขวา ฟันหน้าข้าง ฟันด้านขวา และส่วนอื่นๆ" บริเวณหาดปู่ด้าย ต.นาแส่ง อ.เกาะคา ทางทิศใต้ของตัวเมืองลำปาง ถือเป็นการค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญของประเทศไทย เมื่อพ.ศ.2541[1]
ภาพสันนิษฐานการดำเนินชีวิตของ มนุษย์โฮโมอีเรคตัส ในภาพคือ มนุษย์ปักกิ่ง
ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ เดือน ธันวาคม 2544, หน้า 30
ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ เดือน ธันวาคม 2544, หน้า 30
ผาศักดิ์สิทธิ์กับการตั้งถิ่นฐาน[2]
พัฒนาการต่อมา ปรากฏหลักฐานแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ อายุกว่า 3,000 ปี ที่ประตูผา รอยต่อระหว่าง อ.แม่เมาะ-อ.งาว ขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองปัจจุบัน ซึ่งมีการค้นพบ "โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประกอบพิธีศพ พร้อมกับภาพเขียนสีจำนวนมากถึง 1,872 ภาพ" ที่แสดงสภาพชีวิตความเป็นอยู่และพิธีกรรมไว้ แบ่งภาพเขียนเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่1 ผาเลียงผากลุ่มที่2 ผานกยูงกลุ่มที่3 ผาวัวกลุ่มที่4 ผาเต้นระบำกลุ่มที่5 ผาหินตั้งกลุ่มที่6 ผานางกางแขนกลุ่มที่7 ผาล่าสัตว์และผากระจง อย่างไรก็ตามในบริเวณใกล้เคียงกัน ก็ยังปรากฏภาพเขียนสีในถ้ำต่างๆด้วย เชื่อวันว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญ ก็คือ เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมความเชื่อ ในฐานะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ยุคก่อน ประการสำคัญต่อมา ก็คือ เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ถูกแต่งแต้มเป็นภาพเขียนสีจำนวนมหาศาลนั่นเอง จากหลักฐานดังกล่าวจะเห็นถึงสภาพการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในยุคแรกๆที่อยู่รายรอบ "นครลำปาง" ในปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นห้วงเวลาที่สั่งสม ความหลากหลาย ก่อนที่จะมีพัฒนาการทางสังคม วิธีคิด เทคโนโลยี เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ในเวลา
ลักษณะหน้าผา บริเวณประตูผา อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
ภาพเขียนสีประตูผา ภาพคนและวัว
ที่มา : ภาพเขียนสีพิธีกรรม 3,000 ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์, หน้า 110
ภาพเขียนสีประตูผา ภาพคนและวัว
ที่มา : ภาพเขียนสีพิธีกรรม 3,000 ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์, หน้า 110
เชิงอรรถ
[1] ศิลปวัฒนธรรม ธ.ค, 2544
[2] วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. ภาพเขียนสี พิธีกรรม 3,000 ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์ , กรุงเทพฯ : มติชน, 2545
No comments:
Post a Comment