ในสมัยนี้มีการขยายเมืองออกมาทางตะวันตก โดยมีวัดเชียงภูมิ(ปัจจุบันคือ วัดปงสนุก) เป็นศูนย์กลาง
ขณะที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ก็ได้รับการก่อสร้าง ปรับปรุงบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นอย่างดีในสมัยล้านนารุ่งเรือง ทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆในยุคหลังๆ
ภาพจากจิตรกรรมฝาผนัง(น้ำแต้ม) วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง แสดงลักษณะอาคารทรงปราสาทที่น่าจะเป็นคุ้ม หรือวัง ในสมัยนั้น
สมัยล้านนา
ราวพ.ศ.1845-2325[1]
ร่วมสมัยกับสุโขท้ยต่อเนื่องมาถึงธนบุรี
ชื่อบ้านนามเมือง "เมืองนคร เมืองลคอร เวียงลคอร"
ชื่อเมือง"เขลางค์นคร" เริ่มถูกตัดให้สั้นเหลือเพียง "เมืองนคร" ในพ.ศ.2019 จากหลักฐานศิลาจารึก หลักที่ 65 ที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ เมืองนคร ตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกราช และคำว่า "นคร" ได้เขียนกลายเป็น "ลคอร" สำเนียงชาวพื้นถิ่นออกเป็น "ละกอน"[2]
ขยายเมืองออกไปทางทิศตะวันตก
หลังจากพญามังราย ยึดเมืองเขลางค์นครได้แล้ว จึงได้ให้ขุนไชยเสนา รั้งเมืองและออกมาสร้างเมืองใหม่ในปี พ.ศ.1845[3] ณ บริเวณวัดเชียงภูมิ (ปัจจุบัน คือ วัดปงสนุก) มีการก่อกำแพงเมืองเพิ่มเติม รวมถึงคูเมือง และประตูเมืองต่างๆ ได้แก่ "ประตูปลายนา" "ประตูนาสร้อย" "ประตูเชียงใหม่" "ประตูป่อง"[4] แต่อย่างไรก็ตาม เมืองใหม่ที่สร้างมากับเองเก่าเขลางค์นครนั้น น่าจะยังมีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง แต่ลดระดับความสำคัญลงไปจากเดิมเท่านั้น
เวียงลคอรได้เป็นสมรภูมิรบระหว่าง ล้านนา กับ กรุงศรีอยุธยา หลายคราว ได้แก่
พ.ศ.1929 พระบรมราชาธิราชที่ 4 ยกทัพมาตี แต่ไม่สำเร็จ
พ.ศ.2053-2058 ล้านนาเปิดศึกรุกกวาดต้อนชาวสุโขทัย เชลียง กำแพงเพชร จึงถูกตอบโต้ด้วยการยกทัพมายึดเมืองลคอรได้สำเร็จ
พ.ศ.2058 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2(พ.ศ.2034-2072) กษัตริย์อยุธยายกทัพมาตีเวียงลคอรแตก แล้วกวาดต้อนผู้คนกลับไป[5]
เมืองยุทธศาสตร์ เมืองหน้าด่าน
การเกิดขึ้นของอาณาจักรล้านนานั้น ถือว่าเป็นรัฐที่เติบโตอยู่ท่ามกลางมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และการทางหาร ทางเหนือได้แก่ พม่า และทางใต้ คือ สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา เมื่อสุโขทัยถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ทำให้ล้านนาถูกคุกคามจากทางใต้มากขึ้น นั่นหมายถึงว่า ในขณะนั้นตำแหน่งของหัวเมืองทางใต้มีความหมายและความสำคัญอย่างยิ่ง "เวียงลคอร" จึงมีฐานะเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่จะต้านทานกองทัพที่มารุกรานเสมอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทำให้ "เวียงลคอร" มีอำนาจต่อรองพอที่จะได้รับอานิสงส์ความมั่งคั่งด้วย[6]
"พระอินทราชาชนช้างกับหมื่นนครแห่งล้านนา ภาพเขียนจากโคลงภาพ พระราชพงศาวดาร แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ" แสดงให้เห็นบรรยากาศสงครามในยุคที่อยุธยา เปิดศึกกับล้านนา ในสมัยนั้นเมืองนคร เป็นฐานที่มั่นสำคัญในการทหาร
[ที่มา : สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงสุโขทัย มาจากไหน?, กรุงเทพฯ : มติชน, 2548, หน้า 137]
สมัยล้านนา
ราวพ.ศ.1845-2325[1]
ร่วมสมัยกับสุโขท้ยต่อเนื่องมาถึงธนบุรี
ชื่อบ้านนามเมือง "เมืองนคร เมืองลคอร เวียงลคอร"
ชื่อเมือง"เขลางค์นคร" เริ่มถูกตัดให้สั้นเหลือเพียง "เมืองนคร" ในพ.ศ.2019 จากหลักฐานศิลาจารึก หลักที่ 65 ที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ เมืองนคร ตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกราช และคำว่า "นคร" ได้เขียนกลายเป็น "ลคอร" สำเนียงชาวพื้นถิ่นออกเป็น "ละกอน"[2]
ขยายเมืองออกไปทางทิศตะวันตก
หลังจากพญามังราย ยึดเมืองเขลางค์นครได้แล้ว จึงได้ให้ขุนไชยเสนา รั้งเมืองและออกมาสร้างเมืองใหม่ในปี พ.ศ.1845[3] ณ บริเวณวัดเชียงภูมิ (ปัจจุบัน คือ วัดปงสนุก) มีการก่อกำแพงเมืองเพิ่มเติม รวมถึงคูเมือง และประตูเมืองต่างๆ ได้แก่ "ประตูปลายนา" "ประตูนาสร้อย" "ประตูเชียงใหม่" "ประตูป่อง"[4] แต่อย่างไรก็ตาม เมืองใหม่ที่สร้างมากับเองเก่าเขลางค์นครนั้น น่าจะยังมีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง แต่ลดระดับความสำคัญลงไปจากเดิมเท่านั้น
เวียงลคอรได้เป็นสมรภูมิรบระหว่าง ล้านนา กับ กรุงศรีอยุธยา หลายคราว ได้แก่
พ.ศ.1929 พระบรมราชาธิราชที่ 4 ยกทัพมาตี แต่ไม่สำเร็จ
พ.ศ.2053-2058 ล้านนาเปิดศึกรุกกวาดต้อนชาวสุโขทัย เชลียง กำแพงเพชร จึงถูกตอบโต้ด้วยการยกทัพมายึดเมืองลคอรได้สำเร็จ
พ.ศ.2058 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2(พ.ศ.2034-2072) กษัตริย์อยุธยายกทัพมาตีเวียงลคอรแตก แล้วกวาดต้อนผู้คนกลับไป[5]
เมืองยุทธศาสตร์ เมืองหน้าด่าน
การเกิดขึ้นของอาณาจักรล้านนานั้น ถือว่าเป็นรัฐที่เติบโตอยู่ท่ามกลางมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และการทางหาร ทางเหนือได้แก่ พม่า และทางใต้ คือ สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา เมื่อสุโขทัยถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ทำให้ล้านนาถูกคุกคามจากทางใต้มากขึ้น นั่นหมายถึงว่า ในขณะนั้นตำแหน่งของหัวเมืองทางใต้มีความหมายและความสำคัญอย่างยิ่ง "เวียงลคอร" จึงมีฐานะเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่จะต้านทานกองทัพที่มารุกรานเสมอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทำให้ "เวียงลคอร" มีอำนาจต่อรองพอที่จะได้รับอานิสงส์ความมั่งคั่งด้วย[6]
"พระอินทราชาชนช้างกับหมื่นนครแห่งล้านนา ภาพเขียนจากโคลงภาพ พระราชพงศาวดาร แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ" แสดงให้เห็นบรรยากาศสงครามในยุคที่อยุธยา เปิดศึกกับล้านนา ในสมัยนั้นเมืองนคร เป็นฐานที่มั่นสำคัญในการทหาร
[ที่มา : สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงสุโขทัย มาจากไหน?, กรุงเทพฯ : มติชน, 2548, หน้า 137]
ประดิษฐานพระแก้วมรกต ณ วัดพระแก้วชมพู
ปรากฏเหตุการณ์อัญเชิญ "พระแก้วมรกต" จาก เชียงราย มา เชียงใหม่ ที่กล่าวกันว่า ช้างที่อัญเชิญไม่ยอมไปเชียงใหม่ กลับดึงดันที่จะเข้าเวียงลคอร จึงทำให้ "พระแก้วมรกต" พระพุทธรูปสำคัญ ประดิษฐาน ณ วัดพระแก้วชมพู(วัดพระแก้วตอนเต้าสุชาดารามในปัจจุบัน) เป็นเวลาถึง 32 ปี ก่อนจะถูกอัญเชิญไปที่ วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ ในเวลาต่อมา[7]
"จิตรกรรมฝาผนัง วัดหงส์รัตนาราม เล่าเรื่อง พระแก้วมรกต ตอนที่ช้างตื่นไม่ยอมเข้าเชียงใหม่" แต่เลือกจะมาที่ เมืองนคร สันนิษฐานกันว่า น่าจะมีนัยทางการเมือง แสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจการต่อรองของเมืองนครในขณะนั้น โดยเฉพาะคราวที่หมื่นโลกนคร เป็นเจ้าเมืองอยู่
[ที่มา : พระแก้วมรกต ตำนานพระแก้วมรกต = The Emerald Buddha, กรุงเทพฯ : มติชน, 2546, หน้า 281-283]
รูปปั้นช้างอัญเชิญพระแก้วมรกต จำลองเหตุการณ์ไว้ ณ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ต.เวียงเหนือ อ.เมือง ลำปาง
ล้านนาแตกสลาย
แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยปัญหาภายในล้านนนาที่ไม่มีความเป็นเอกภาพแท้จริง ในที่สุด ก็สลายลงใน พ.ศ.2101 ซึ่งทัพของ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าใช้เวลาเพียง 3 วัน ก็สามารถยึดเชียงใหม่อย่างง่ายดาย ผู้ปกครองเมืองต่างๆ รวมทั้งเวียงลคอร จึงอยู่ภายใต้การควบคุมของพม่า เรื่อยมาเป็นเวลากว่า 200 ปี[8] ที่อยู่ใต้อิทธิพลความคิด และการอุปถัมภ์จากราชสำนักพม่า
หนานทิพย์ช้าง ต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตน
ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ปรากฏวีรกรรมของหนานทิพย์ช้างที่สามารกำจัด ท้าวมหายศ เจ้าเมืองลำพูนที่เข้ามาสร้างความเดือดร้อนได้สำเร็จ ดังปรากฏเรื่องเล่า ณ บริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวง หนานทิพย์ช้างได้รับการยอมรับจากชาวเมืองให้เป็นเจ้าเมือง ร.ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล กล่าวว่า หนานทิพย์ช้าง ได้รับการแต่งตั้ง จากกษัตริย์พม่า ให้เป็น "พระยาไชยสงคราม"[9] ถือเป็นความชอบธรรมประการหนึ่งในสมัยนั้น ที่ยังอยู่ใต้อิทธิพลของพม่า อย่างไรก็ตามหนานทิพย์ช้าง ยังถูกเรียกในนามอื่นๆ ได้แก่ พระยาสุลวฤาไชย[10], พ่อเจ้าทิพย์ช้าง[11]
ปรากฏเหตุการณ์อัญเชิญ "พระแก้วมรกต" จาก เชียงราย มา เชียงใหม่ ที่กล่าวกันว่า ช้างที่อัญเชิญไม่ยอมไปเชียงใหม่ กลับดึงดันที่จะเข้าเวียงลคอร จึงทำให้ "พระแก้วมรกต" พระพุทธรูปสำคัญ ประดิษฐาน ณ วัดพระแก้วชมพู(วัดพระแก้วตอนเต้าสุชาดารามในปัจจุบัน) เป็นเวลาถึง 32 ปี ก่อนจะถูกอัญเชิญไปที่ วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ ในเวลาต่อมา[7]
"จิตรกรรมฝาผนัง วัดหงส์รัตนาราม เล่าเรื่อง พระแก้วมรกต ตอนที่ช้างตื่นไม่ยอมเข้าเชียงใหม่" แต่เลือกจะมาที่ เมืองนคร สันนิษฐานกันว่า น่าจะมีนัยทางการเมือง แสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจการต่อรองของเมืองนครในขณะนั้น โดยเฉพาะคราวที่หมื่นโลกนคร เป็นเจ้าเมืองอยู่
[ที่มา : พระแก้วมรกต ตำนานพระแก้วมรกต = The Emerald Buddha, กรุงเทพฯ : มติชน, 2546, หน้า 281-283]
รูปปั้นช้างอัญเชิญพระแก้วมรกต จำลองเหตุการณ์ไว้ ณ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ต.เวียงเหนือ อ.เมือง ลำปาง
ล้านนาแตกสลาย
แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยปัญหาภายในล้านนนาที่ไม่มีความเป็นเอกภาพแท้จริง ในที่สุด ก็สลายลงใน พ.ศ.2101 ซึ่งทัพของ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าใช้เวลาเพียง 3 วัน ก็สามารถยึดเชียงใหม่อย่างง่ายดาย ผู้ปกครองเมืองต่างๆ รวมทั้งเวียงลคอร จึงอยู่ภายใต้การควบคุมของพม่า เรื่อยมาเป็นเวลากว่า 200 ปี[8] ที่อยู่ใต้อิทธิพลความคิด และการอุปถัมภ์จากราชสำนักพม่า
หนานทิพย์ช้าง ต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตน
ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ปรากฏวีรกรรมของหนานทิพย์ช้างที่สามารกำจัด ท้าวมหายศ เจ้าเมืองลำพูนที่เข้ามาสร้างความเดือดร้อนได้สำเร็จ ดังปรากฏเรื่องเล่า ณ บริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวง หนานทิพย์ช้างได้รับการยอมรับจากชาวเมืองให้เป็นเจ้าเมือง ร.ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล กล่าวว่า หนานทิพย์ช้าง ได้รับการแต่งตั้ง จากกษัตริย์พม่า ให้เป็น "พระยาไชยสงคราม"[9] ถือเป็นความชอบธรรมประการหนึ่งในสมัยนั้น ที่ยังอยู่ใต้อิทธิพลของพม่า อย่างไรก็ตามหนานทิพย์ช้าง ยังถูกเรียกในนามอื่นๆ ได้แก่ พระยาสุลวฤาไชย[10], พ่อเจ้าทิพย์ช้าง[11]
เชิงอรรถ
[1] พ.ศ.1845 นับจากปีที่เขลางค์นครเสียเมืองให้แก่ พญามังราย/พ.ศ.2325 นับจากปีที่สถาปนากรุงเทพมหานคร ซึ่งในระยะเวลานี้ใช้กรอบการอธิบายที่อ้างอิงกับสยามประเทศเป็นหลัก ช่วงที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กว่า 200 ปี ล้านนาได้รับอิทธิพลจากพม่าอย่างมาก
[2] ในที่นี้จึงเลือกใช้ คำว่า “เวียงลคอร” เพื่ออธิบายให้เป็นเอกภาพ ดูคำอธิบายเพิ่มเติมใน สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2544, หน้า 74
[3] หลักฐานกล่าวถึง จุลศักราช... ดูใน รัตนปัญญาเถระ, พระ. ชินกาลมาลีปกรณ์ ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร, แปล พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานฌาปนกิจศพ นางทองคำ สุวรรนิชกุล 17 มกราคม 2515, หน้า...
[4] ศักดิ์ รัตนชัย. “เมืองนคร-เมืองลำปาง” ใน ของดีนครลำปาง, 2512, หน้า 10
[5] สรัสวดี อ๋องสกุล, อ้างแล้ว, หน้า 147 และ 202-203
[6] ดูใน สมหมาย เปรมจิตต์, ปริวรรต. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับชำระ, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ :มิ่งเมือง, 2540, หน้า 67-68
[7] พรหมราชปัญญา, พระ. รัตนพิมพ์วงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร แปล ใน พระแก้วมรกต, กรุงเทพฯ : มติชน, 2546, หน้า
[8] สรัสวดี อ๋องสกุล, อ้างแล้ว, หน้า 208
[9] อ้างแล้ว, หน้า 261
[10] สมโชติ อ๋องสกุล, เจ้าหลวงลำปางและธิดาเจ้าหลวงลำปางคนสุดท้าย, เอกสารอัดสำเนา, 2546
[11] บนจารึกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อทิพย์ช้าง ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง
[1] พ.ศ.1845 นับจากปีที่เขลางค์นครเสียเมืองให้แก่ พญามังราย/พ.ศ.2325 นับจากปีที่สถาปนากรุงเทพมหานคร ซึ่งในระยะเวลานี้ใช้กรอบการอธิบายที่อ้างอิงกับสยามประเทศเป็นหลัก ช่วงที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กว่า 200 ปี ล้านนาได้รับอิทธิพลจากพม่าอย่างมาก
[2] ในที่นี้จึงเลือกใช้ คำว่า “เวียงลคอร” เพื่ออธิบายให้เป็นเอกภาพ ดูคำอธิบายเพิ่มเติมใน สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2544, หน้า 74
[3] หลักฐานกล่าวถึง จุลศักราช... ดูใน รัตนปัญญาเถระ, พระ. ชินกาลมาลีปกรณ์ ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร, แปล พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานฌาปนกิจศพ นางทองคำ สุวรรนิชกุล 17 มกราคม 2515, หน้า...
[4] ศักดิ์ รัตนชัย. “เมืองนคร-เมืองลำปาง” ใน ของดีนครลำปาง, 2512, หน้า 10
[5] สรัสวดี อ๋องสกุล, อ้างแล้ว, หน้า 147 และ 202-203
[6] ดูใน สมหมาย เปรมจิตต์, ปริวรรต. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับชำระ, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ :มิ่งเมือง, 2540, หน้า 67-68
[7] พรหมราชปัญญา, พระ. รัตนพิมพ์วงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร แปล ใน พระแก้วมรกต, กรุงเทพฯ : มติชน, 2546, หน้า
[8] สรัสวดี อ๋องสกุล, อ้างแล้ว, หน้า 208
[9] อ้างแล้ว, หน้า 261
[10] สมโชติ อ๋องสกุล, เจ้าหลวงลำปางและธิดาเจ้าหลวงลำปางคนสุดท้าย, เอกสารอัดสำเนา, 2546
[11] บนจารึกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อทิพย์ช้าง ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง
No comments:
Post a Comment